วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565

การเตรียมตัวก่อนเชื่อมด้วย fiber laser welding

การเชื่อมด้วยไฟเบอร์เลเซอร์ในระบบ handheld ที่เชื่อมด้วยมือผ่านการประคองหัวเชื่อมหรือที่เรียกว่า Wobble นั้นสามารถสร้างผลงานการเชื่อมได้ง่ายและเรียนรู้ได้ไวกว่าการเชื่อมแบบ MIG หรือ TIG welding ค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวและอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มลงมือเชื่อมกับ Fiber Laser Welding นั้นก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเตรียมตัวก่อนเชื่อมเหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆ มาดูกันว่าการเตรียมตัวและข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องเชื่อม Fiber Laser Welding นั้นจะมีอะไรได้บ้าง

การถอด wire feeding เอาลวดออกเพื่อเชื่อมงานแบบหลอมละลาย
โหมดการเชื่อมอลูมิเนียมด้วย Fiber laser Welding 2kW
ก่อนเชื่อมควร spot ชิ้นงานให้นิ่งติดกันเพื่อรักษาความเสถียรของแนวเชื่อม
ก่อนเชื่อมทุกครั้งต้องมั่นใจว่าแนวเชื่อมตรงกับลำแสงด้วยการตรวจสอบแนวเชื่อมจากแสง infrared ตลอดแนวทุกครั้ง

ข้อผิดพลาดที่มักเกิดชึ้นจากการใช้เครื่องเชื่อม Fiber Laser Handheld Welding
  1. ปรับ condition การเชื่อมไม่ตรงกับชนิดและความหนาของาน
  2. เชื่อมไม่ได้แนวทำให้ความร้อนไม่หลอมละลายขอบงานที่ต้องการเชื่อมประสานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ความเร็วในการลากมือไม่สัมพันธ์กับ duty และความร้อนของกำลังไฟ ทำให้งานหลอมละลายไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ
  4. หัว Nozzle หมดสภาพ ทำให้การวางระยะงานผิดพลาดไปจากระยะ focus ที่หวังผลความสวยงามของผิวเชื่อม
  5. Operator ไม่เอียงหัวเชื่อมทำมุมเพื่อลด back reflection ทำให้เลนส์ภายในหัว Wobble เสียหายเร็วกว่าการเอียงหัวเชื่อมอย่างถูกต้อง
  6. Operator ไม่วางหัว Wobble บนแท่นเก็บที่เหมาะสม หรือกระแทกหัว Wobble กับพื้นแรงเกินไป แรงกระแทกมีผลโดยตรงกับอุปกรณ์ความแม่นยำภายในหัว Wobble เช่น focus ของ lens หรือระบบ swat motor
  7. การใช้ Ground ที่หนีบไม่ได้คุณภาพจะทำให้ระบบการ spark ทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

การ clamp อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาการ spark

เมื่อเตรียมตัวและอุปกรณ์กันพร้อมแล้ว ลองมาดูว่าเครื่องเชื่อมไฟเบอร์เลเซอร์นี้จะสร้างผลงานการเชื่อมดีๆ ทำเงินงามๆ ให้กับพวกเราได้อย่างไรกันบ้าง

การเชื่อมต่อแนว – อลูมิเนียม

การเชื่อมด้วย Fiber Laser Welding แบบมุมนอกและมุมใน - ผิวสวย งานเรียบ ไม่ดุ้ง

การเชื่อมชิ้นงานสองชิ้นเข้าด้วยกันแบบเติมลวดใน Fiber Laser Welding

Fiber Laser Welding 2kW กับการเชื่อมเหล็ก 12 มม ที่ไม่เน้นการซึมลึก

งานเชื่อมที่ทำเงินสูงสูดในวันนี้ด้วยการเชื่อมสแตนเลส PVD Coating กับ Profile ต่างๆ

งานเชื่อมท่อสแตนเลส mirror แบบรอยเชื่อมเนียนสวยไม่ต้องขัดเก็บ ไม่ต้องปัดเงา

Fiber Laser Welding เชื่อมหลอมละลายทองเหลือง 2 มม แบบไม่ต้องเติมลวด

Fiber Laser Welding เชื่อมถังสแตนเลสทำ Sink เก็บน้ำ และอ่างล้างมือ แนวสวย ไม่ทะลุ เดินไว

แนวเชื่อมเหล็กที่เกิดจากการ Sway ในความเร็วที่เหมาะสมจะสร้างความแข็งแรงและความสวยงามให้กับผิวเชื่อมได้

ระบบเติมลวดสามารถกำหนดการเดินลวดเข้าและออกพร้อมกับปรับ wire feed speed ได้ที่ชุดส่งลวด

การปรับความสัมพันธ์ของการปล่อยลวดและการลากมือที่ไม่สอดคล้องจะทำให้เส้นลวดไม่หลอมละลายติดชิ้นงาน

เชื่อมอลูมิเนียม 4 มม สวยๆ

เชื่อมเหล็ก 4 มม ซึมลึกตลอดแนวด้วยกำลัง 2kW

เชื่อมถึงแผ่นล่างแบบ overlay

สแตนเลส 4 มม เชื่อมด้วย Fiber Laser Welding 2kW

เชื่อมประกบสแตนเลสกับทองเหลืองด้วย Fiber Laser Welding

ยังคงมีเทคนิคอีกมากมายที่เครื่องเชื่อมไฟเบอร์เลเซอร์ช่วยคุณทำเงินจากการลงทุนเพียงแค่หลักแสนเพื่อแลกกับงานหลักล้านในระยะเวลาคืนทุนเพียงไม่กี่เดือนสำหรับขาประจำงานเชื่อม สอบถามและทดสอบงานเชื่อมเพิ่มเติมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับงานเชื่อมของคุณได้ที่ Wongtanawoot ทุกวันทำการนะครับ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SIMPLEX MOVE เดินหน้าสู่การผลิตแบบ Automation โดย วงศ์ธนาวุฒิ โทร. +66.2.899.6374 หรือ +66.86.308.0698 85 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150 SIMPLEX MOVE เดินหน้าสู่การผลิตแบบ Automation Email : info@pcb-bangkok.com WebSite : www.simplexmove.com FaceBook : Simplex Move เดินหน้าสู่การผลิตแบบ Automation Blog : https://simplexmove.blogspot.com/p/products.html Line ID : @pcb-bangkok (มี @ ด้วยนะคะ)

#handheld #Fiber_Laser_Welding #เชื่อมอลูมิเนียม #เครื่องเชื่อม_Fiber_Laser_Handheld_Welding #เครื่องเชื่อมไฟเบอร์เลเซอร์ #เครื่องเชื่อมมือไฟเบอร์เลเซอร์ #เชื่อมท่อสแตนเลส #เชื่อมสแตนเลส #เชื่อมหลอมละลายทองเหลือง #เชื่อมถังสแตนเลส #เชื่อมเหล็ก #เชื่อมประกบสแตนเลสกับทองเหลือง #simplexMove #wongtanawoot

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น