วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565

ข้อแตกต่างระหว่าง MIG welding กับ Fiber Laser Welding

MIG Welding มาจากการใช้ Metal Inert Gas หรือแก๊สเฉื่อยบริสุทธิ์ เช่น CO2 เป็นเกราะป้องกันในการเชื่อมโลหะโดยมีลวดป้อนต่อเนื่องและมีแก๊สปกคลุมแนวเชื่อมเพื่อรักษาสภาพผิวเชื่อมในขณะที่โลหะภายในบริเวณกำลังหลอมละลายติดเป็นเนื้อเดียวกัน


Ref: ABICOR BINZEL


ข้อดีของการเชื่อมด้วย MIG Welding

  1. ผู้ใช้งานเชื่อมทั่วไปมีความคุ้นเคยกับระบบการเชื่อมแบบ MIG ทำให้ง่ายต่อการเซ็ทระบบและการเรียนรู้
  2. ใช้เพียงอุปกรณ์พื้นฐานไม่กี่อย่าง อาทิเช่น แก๊ส ชุดกำเนิดไฟฟ้า ปืนเชื่อม หรือแขนกลจับปืน ไม่ต้องลงทุนสูง และไม่ต้องใช้บุคลาการที่มีความสามารถสูง
  3. สามารถปฏิบัติการได้ทั้งระบบ manual เชื่อมด้วยแรงงานคน หรือใช้ Robot Welding ก็ได้
  4. การหลอมละลายลวดเชื่อมไปยังแนวเชื่อมนั้นช่วยให้งานเชื่อมเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในแนวที่ชิ้นงานตั้งฉากกัน เนื่องจากแนวเชื่อมที่ขาดความสม่ำเสมอจะยังคงมีโอกาสถูกปกคลุมด้วยลวดเชื่อมที่มีพื้นที่กินวงกว้างมากกว่าการเชื่อมประเภทอื่น
  5. ใช้เงินลงทุนเบื้องต้นน้อยกว่า Fiber Laser Welding ในระบบ Robot Welding
Fiber Laser Welding คือการเชื่อมด้วย



ข้อดีของการเชื่อมด้วย Fiber Laser Welding

  1. เหมาะกับงานเชื่อมบางที่ต้องการผิวสวยงาม และรักษาความสะอาดของพื้นผิว
  2. เชื่อมได้ไวกว่า สร้างผลงาน throughput ได้เร็วกว่า (สามารถเชื่อมได้ไวกว่าถึง 10 เท่าเมื่อเป็นระบบ Robot Fiber Laser Welding)
  3. เงินลงทุนลดต่ำลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเนื่องจากเทคโนโลยีมีราคาประหยัดลง
  4. เชื่อมวัสดุที่มีการสะท้อนได้ดีกว่าการเชื่อมประเภทอื่น เช่น การเชื่อมอลูมิเนียม ทองแดง สแตนเลส รวมถึงการเชื่อม ไทเทเนียม ทอง และเงิน ได้อีกด้วย
  5. ระบบ Fly Capability หรือการเชื่อมแบบใช้ scanner จับแนวเชื่อมในระยะไกล จะช่วยให้การเคลื่อนที่ของลำแสงมีประสิทธิภาพสูง ทำงานได้ไวในความเร็วเพียงหน่วยหนึ่งในล้านวินาที และครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าการเชื่อมแบบอื่น
  6. ระบบการเชื่อมสามารถถูกออกแบบให้ครอบคลุมแนวเชื่อมได้อย่างที่ต้องการหากสามรถรักษาความแม่นยำของแนวเชื่อมให้สม่ำเสมอได้ และสามารถกำหนดการซึมลึกได้อย่างแม่นยำเช่นกันอีกด้วย ต่างจากการเชื่อมแบบอื่นที่แนวเชื่อมจะถูกกำหนดไว้ด้วยขนาดของลวดเชื่อม
  7. Heat Affected Zone มีผลกระทบต่อวัสดุที่เชื่อมน้อยกว่าระบบ MIG ทำให้การ focus แนวเชื่อมขนาดเล็กออกมาสวยกว่าและไวกว่า
  8. ชิ้นงานมีโอกาสเสียรูปน้อยกว่าเพราะมีความร้อนมากระทำน้อยกว่าการเชื่อมแบบ MIG
  9. หัวเชื่อมในระบบ Robot Full Automated Welding นั้นสามารถเชื่อมงานได้หลากหลายโดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์

ข้อควรพึงสังเกตเกี่ยวกับการใช้ Fiber Laser Welding

  1. ระยะห่างของวัตถุทั้งสองชิ้นต้องไม่ห่างกันมากจนทำให้ลวดเชื่อมหรือการหลอมละลายขาดประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อชิ้นงาน
  2. ชิ้นงานต้องแม่นยำ มีระยะห่างที่สม่ำเสมอชัดเจน
  3. ค่าต้นทุนอุปกรณ์สูงกว่า MIG Welding ในระบบ Auto Welding กับ Robot อาทิเช่น หัวเชื่อมเลซอร์ ชุดทำความเย็นชิลเลอร์ และระบบ Software พร้อมบุคลากรในการเซ็ทระบบ
การเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับเนื้องานและระยะเวลาในการลงทุน รวมถึงโอกาสในการเติบโตในอนาคตเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารสายงานเชื่อมพึงมี 

SimplexMove นำเสนอ Solution งานเชื่อมทั้งรูปแบบ MIG Welding และ Fiber Laser Welding เพื่อตอบโจทย์การลงทุนที่ส่งมอบ ROI ที่ดีที่สุดให้กับคุณ

1. Robot MIG Welding กับแขนกล Industrial Robot ที่ตอบโจทย์การเขื่อมแบบ Heavy Duty ที่ใส่ใจในการผลิตงานเชื่อมจำนวนมากที่เน้นผิวเชื่อมที่แข็งแรงและไร้ spatter 


2. Handheld Fiber Laser Welding ทั้งระบบ Manual และระบบ Robot Arm Semi Auto


3. Fiber Laser Robot Auto Welding

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SIMPLEX MOVE เดินหน้าสู่การผลิตแบบ Automation โดย วงศ์ธนาวุฒิ โทร. +66.2.899.6374 หรือ +66.86.308.0698 85 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150 SIMPLEX MOVE เดินหน้าสู่การผลิตแบบ Automation Email : info@pcb-bangkok.com WebSite : www.simplexmove.com FaceBook : Simplex Move เดินหน้าสู่การผลิตแบบ Automation Blog : https://simplexmove.blogspot.com/p/products.html Line ID : @pcb-bangkok (มี @ ด้วยนะคะ)

#handheld #Fiber_Laser_Welding #เชื่อมอลูมิเนียม #เครื่องเชื่อม_Fiber_Laser_Handheld_Welding #เครื่องเชื่อมไฟเบอร์เลเซอร์ #เครื่องเชื่อมมือไฟเบอร์เลเซอร์ #เชื่อมท่อสแตนเลส #เชื่อมสแตนเลส #เชื่อมหลอมละลายทองเหลือง #เชื่อมถังสแตนเลส #เชื่อมเหล็ก #เชื่อมประกบสแตนเลสกับทองเหลือง #simplexMove #wongtanawoot

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น